สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การให้ทิปแต่ละประเทศ

การให้ทิปแต่ละประเทศ

ทิป   คือ   เงินจำนวนหนึ่งซึ่งผู้ใช้บริการมอบให้แก่ผู้ให้บริการ   โดยจ่ายเพิ่มเติมให้เป็นพิเศษนอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพื่อบริการนั้นๆ

 

การให้ทิป  หรือ  การให้เงินพิเศษเป็นค่าบริการเพื่อเป็นสินน้ำใจแก่ผู้ให้บริการที่ทำหน้าที่ได้ดี ในบางประเทศถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ขณะที่บางประเทศกลับเป็นข้อห้ามเลยทีเดียว ขอแนะนำวิธีให้ทิปอย่างเหมาะสมในประเทศต่างๆ

 

 

ฮ่องกง  ถึงแม้ร้านอาหารจะรวมค่าเซอร์วิสชาร์จไว้ในบิล แต่พนักงานก็คาดหวังจะได้ทิปเพิ่ม เช่นเดียวกับพนักงานยกกระเป๋าและพนักงานทำความสะอาดโรงแรม  แต่ไม่จำเป็นต้องทิปคนขับแท็กซี่ 

 

  

                                                                                              

สิงคโปร์
 
เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ที่นี่ไม่มีการให้ทิปเพราะ ได้รวมค่าบริการ 10% ลงไปในบิลค่าอาหารและโรงแรมอยู่แล้ว  นอกจากนี้ การทิปในสนามบินถือเป็นเรื่องต้องห้าม

 

ญี่ปุ่น  การให้ทิปมิใช่ธรรมเนียมปฏิบัติในญี่ปุ่น นอกจากกรณีพิเศษ เช่น ให้ทิปคนขับรถลีมูซีนส่วนตัว

 

 

อังกฤษ   พนักงานบริการคาดหวังจะได้รับทิปจากผู้รับบริการ  ในโรแรมจะมีการรวมค่าทิป 10 - 15%  ของค่าห้องไปเรียบร้อยแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องทิปอีก ขณะที่ในร้านอาหารและการใช้บริการแท็กซี่เราควรให้ทิป 10% ของค่าใช้จ่าย สำหรับร้านเสริมสวย ควรทิปให้ช่างทำผมและผู้ช่วย 2 และ 1 ปอนด์ ตามลำดับ

 

 

   

ออสเตรเลีย    การให้ทิปยังไม่ค่อยแพร่หลายนัก บางคนใจดีไม่รับเงินทอนจากบริกรหรือคนขับแท็กซี่ ส่วนใหญ่มักให้ทิปกันในร้านอาหารจำนวน 10% สำหรับการบริการที่น่าประทับใจ ส่วนการให้ทิปในโรงแรมหรือร้านเสริมสวยมิใช่ธรรมเนียมของที่นี่

 

 

   

สหรัฐอเมริกา   การให้ทิปเป็นเรื่องปกติทั่วไปของอเมริกา  เราควรให้ทิป 15 - 20%  ของค่าอาหาร แท็กซี่  10 - 15%  หากไปรับประทานอาหารเป็นหมู่คณะ อย่าลืมตรวจสอบกับร้านอาหารว่าได้รวมค่าเซอร์วิสชาร์จไปแล้วหรือไม่ ถ้ารวมแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทิปเพิ่ม ที่สำคัญห้ามให้ทิปพนักงานของรัฐเด็ดขาด

 

  

 


ไทย  การให้ทิปไม่ใช่เรื่องจำเป็น เพียงแต่คุณจะได้รับการดูแลเป็นพิเศษหากให้ทิปแก่พนักงานบริการ  ราคามาตรฐานสำหรับการให้ทิปพนักงานเสิร์ฟ หรือพนักงานยกกระเป๋า คือ   10 - 20 บาท

 

 

 

 ที่มา : Nestle Indochina Magazine July 2008
ภาพธงประจำชาติจาก วิกิพีเดีย
 

 

view